วันจันทร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2555

เห็ดหลินจือกับ มะเร็ง



เห็ดหลินจือ
นพ.ปัญญา ไพศาลอนันต์ (หน้า 11-13) กล่าวว่า

เห็ดหลินจือ มีชื่อพื้นเมืองหลายชื่อ อาทิเช่น เห็ดหมื่นปี เห็ดอมตะ เห็ดจวักงู ชื่ออังกฤษ คือ Holy mushroom แปลว่า เห็ดศักดิ์สิทธิ์ หรือ Lacquered mushroom แปลว่าเห็ดที่มีผิวเหมือนทาแลกเกอร์ ในประเทศจีน เรียกเห็ดนี้ว่าLing zhi ส่วนในญี่ปุ่น เรียกว่า Reishi เป็นเห็ดสมุนไพรที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกายของมนุษย์อย่างน่าอัศจรรย์ ด้วยคุณประโยชน์ของสารอาหารที่มีอยู่มากมายในเห็ดหลินจือ สามารถช่วยป้องกัน บรรเทา และรักษาอาการเจ็บป่วยได้ เห็ดหลินจือจึงไม่ใช่เพียงแค่อาหาร แต่ด้วยคุณค่ามหาศาลจึงสามารถถือว่าเห็ดหลินจือ เป็นยาชั้นดีได้เลยทีเดียว





กาโนเดอร์มา (Ganoderma) เป็นชื่อทางวิทยาศาสตร์ของเห็ดหลินจือ ในโลกนี้มีเห็ดหลินจือประมาณ 2,500 สายพันธุ์ และมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อนักวิจัยค้นพบมากขึ้น การค้นพบดังกล่าวจึงเสมือนหนึ่งเป็นการกระตุ้นการค้นคว้าเห็ดหลินจือ เห็ดหลินจือมีรูปร่างคล้ายไต สีแดงอมน้ำตาล หรือสีม่วงแก่ มีลายวงแหวน มีความวาวเป็นมัน มีลักษณะแข็งเหมือนเนื้อไม้ ปลายรอบนอกสุดของหมวกเห็ดบาง และม้วนเข้าด้านในเล็กน้อย เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4 ซม.


เห็ดชนิดนี้ ได้รับการยอมรับในฐานะของพรรณพืชสมุนไพรที่หายาก แต่มากด้วยประโยชน์ถือเป็นสุดยอดสมุนไพร ในประเทศจีนและประเทศญี่ปุ่นได้มีการใช้คุณประโยชน์จากเห็ดหลินจือ เพื่อเป็นยาในการป้องกันและบำบัดโรคต่าง ๆ มาเป็นเวลานานหลายพันปี ชาวจีนมีความเชื่อว่าเห็ดหลินจือคือ สมุนไพรที่เทพเจ้าประทานลงมาให้เพื่อใช้เป็นยาอายุวัฒนะ คำว่า “หลินจือ” มีความหมายว่า “จิตวิญญาณอันยิ่งใหญ่”


สมัยโบราณเห็ดหลินจือถือเป็นยา หรืออาหารสำหรับจักรพรรดิและคนในราชวงศ์ ถือเป็นอาหารชั้นสูงดังเช่นที่ตำราสมุนไพรของจีนโบราณ ที่มีชื่อว่า (เสินหนงเปิ๋นเฉ่าจิง) ซึ่งเป็นต้นตำรับของตำราแพทย์แผนจีนในปัจจุบัน ได้บันทึกเอาไว้ว่าเห็ดหลินจือนั้นเป็นสุดยอดสมุนไพรอันดับหนึ่ง ถือว่าเป็นราชาแห่งสมุนไพรที่มีคุณค่าต่อร่างกายอย่างมากมายมหาศาล






เห็ดหลินจือจัดเป็นเห็ดที่เจริญเติบโตได้ดีในธรรมชาติ โดยเฉพาะเติบโตตามโคนไม้ในเขตอบอุ่นและเขตร้อน ตำรายาและสมุนไพรของจีนโบราณถึงกับยกย่องให้เห็ดหลินจือมีคุณค่ามากยิ่งกว่าโสม ด้วยเหตุผลสามประการคือ

1. เห็ดหลินจือไม่เป็นพิษ สามารถรับประทานได้ทุกวัน โดยไม่เกิดผลกระทบหรือเกิดโทษที่ไม่มีผลข้างเคียงใด ๆ ต่อร่างกาย

2. เมื่อรับประทานเห็ดหลินจือสม่ำเสมอ จะช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย ให้ร่างกายและอวัยวะต่าง ๆ ทำงานได้อย่างเป็นปกติ

3. เห็ดหลินจือจะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ทำให้การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันเป็นไปอย่างปกติ ทำให้ไม่เจ็บป่วยได้ง่าย


เอกสารอ้างอิง : ปัญญา ไพศาลอนันต์. เห็ดหลินจือ อื้อซ่า ยารักษาสรรพโรค. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แบงค์คอกบุ๊คส์.




...................................................................................................................................................................

เห็ดหลินจือ
อัญชุลี อุธา (2554 : 87-88) กล่าวว่า

มีรายงานการวิจัยมากกว่า 100 โครงการ ที่ได้รับการยอมรับเป็นสากล เปิดเผยผลการค้นพบสารออกฤทธิ์ต่อต้านมะเร็งในเห็ดหลินจือหลายชนิด เมื่อสกัดออกมาแล้วพบว่า มีฤทธิ์ที่สำคัญ 3 ประการ คือ ต้านมะเร็ง ช่วยชะลอการลุกลามของมะเร็ง และเพิ่มประสิทธิภาพของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย





อาจารย์มงคลศิลป์ บุญเย็น ผู้มีประสบการณ์การรักษาผู้ป่วยมะเร็งมานานกว่า 18 ปี ได้พบผู้ป่วยมะเร็งเต้านมมาแล้วหลายระดับ ตั้งแต่ตรวจพบขนาดก้อนเนื้อประมาณนิ้วก้อย หรือตรวจพบก้อนเนื้อเท่าลูกปิงปอง ผู้ป่วยมะเร็งเต้านม 2 รายซึ่งมีขนาดก้อนมะเร็งแตกต่างกันมารับการรักษากับท่าน ทั้งสองต่าง ไม่ต้องผ่าตัด แต่มารักษาด้วยการกินยาอย่างเดียว จนก้อนมะเร็งลีบลง ขั้นตอนการรักษาจะประกอบไปด้วยการตรวจค่าเลือดจากสัญญาณมะเร็ง Tomor Marker และใช้ยาในภายหลัง โดยตัวยาที่สำคัญ คือ เห็ดหลินจือขนาดเมก้าโดส ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นสมุนไพรที่มีความปลอดภัยสูง และ มีสาระสำคัญที่ออกฤทธิ์ต้านมะเร็ง คือ เบต้ากลูแคน (Beta-D-Glucan) และสารกลุ่มจำพวก โพลิแซ็กคาไรด์ (Polysaccharides) สารทั้ง 2 ชนิดนี้จะทำหน้าที่กระตุ้นการทำงานของเม็ดเลือดขาวทั้งชนิด บี-เซลล์ (B-cells) และ ที-เซลล์ (T-cells) ทำให้เกิดการเพิ่มปริมาณของสารอิมมูโนโกลบูลิน (Immunoglobulin) และ สารอินเตอร์ลิวคิน (Interleukins) ซึ่งสารทั้ง 2 ชนิดจะทำหน้าที่กำจัดเซลล์มะเร็ง หรือสารก่อมะเร็ง และเซลล์ผิดปกติ

“ยาของผมจะเข้าไปกำจัดศัตรูของร่างกาย ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันเม็ดเลือดขาวแข็งแรงขึ้น ตัวที่ทำหน้าที่กำจัดมะเร็งคือ ฟาโกไซท์ กับโมโนไซท์ ของเม็ดเลือดขาว ตัวยาทำให้เม็ดเลือดขาวสองตัวนี้ขยันมากขึ้นจะเข้าไปทำลายก้อนมะเร็งที่เหลือ การรักษามะเร็งจึงได้ผลไม่ว่าจะอยู่ที่ใด”



เอกสารอ้างอิง : อัญชุลี อุธา. กินต้านมะเร็งเต้านม. กรุงเทพมหานคร : บีเวลล์ สปีเชียล, 2554.




..................................................................................................................................................................


เบต้ากลูแคน...แป้งผู้ฆ่ามะเร็ง
นายแพทย์นิวัฒน์ ศิตลักษ์ และคณะ (2554 : 66-68) กล่าวว่า


Polysaccharide หมายถึง น้ำตาลเชิงซ้อนสายโมเลกุลยาว ไม่ถูกย่อยง่าย ๆ ในกระเพาะ มักผ่านสู่ลำไส้ ซึ่งที่ลำไส้มีเซลล์เม็ดเลือดขาว แมคโครเฟ็จรออยู่จำนวนมาก Polysaccharide จะไปกระต้นหรือบำรุงเซลล์แมคโครเฟ็จ ให้แข็งแรงประสิทธิภาพเต็มร้อย ทำให้กลืนกินเชื้อโรคหรือเซลล์มะเร็งได้ดี


พบว่าหลินจือมี Polysaccharide มากมายกว่า 50 ชนิดที่สำคัญ คือ เบต้ากลูแคน หรือ เบต้า 1, 3 กลูแคน เป็นสารออกฤทธิ์สำคัญนี้ โดยองค์การอนามัยโลกยอมรับ/ยกย่องให้หลินจือเป็นกลุ่มสารธรรมชาติดัดแปลงเพื่อการตอบสนองภูมิคุ้มกัน (Biological response modifier – BRM)





นอกเหนือจากฤทธิ์กระตุ้น บำรุงเม็ดเลือดขาวให้ต้านมะเร็งแล้ว Polysaccharide หรือเบต้ากลูแคน หรือ bata1, 3 glucan หรือ กลูแคน ยังถูกยกย่องเป็นสารมหัศจรรย์ในด้านความงามอีกด้วย และกว่า 1,000 ชิ้นงานวิจัย พบว่ากลูแคนในหลินจือมีฤทธิ์แรงกว่าสารสกัดว่านหางจระเข้มาก


เหนือกว่านั้นกลูแคนยังเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ต้านรังสี UV คือ คุ้มครองเซลล์แลงเกอร์ฮาน และเนื้อเยื่อรอบบริเวณให้พ้นจากพิษรังสียูวี


อีกหนทางแห่งการได้มาซึ่งสารเบต้ากลูแคนเข้มข้น คือสกัดจากยีสต์ทำให้สามารถเพิ่มปริมาณสารอาหารฟังก์ชั่นกลุ่มนี้ได้มากถึงวันละ 3 กรัม โดยวิธีแบ่งทยอยกิน ร่วมกับสารอาหารอื่น ทุก 1-2 ชั่วโมงต่อครั้ง


เอกสารอ้างอิง : นิวัฒน์ ศิตลักษ์ และคณะ. การแพทย์บูรณาการ 4 ฉบับหมอมวลชน. นนทบุรี : หมอมวลชน, 2554. 

.
...............................................................................................................................................................


การช็อคมะเร็ง Shock Therapy
นายแพทย์นิวัฒน์ ศิตลักษ์ และคณะ (2554 : 65-66) กล่าวว่า

เป็นบทบาทเด่นของเยอรมาเนียม ในหลินจือสกัด

หนังสือหลิงจือกับข้าพเจ้า เป็นข้อมูลประสบการณ์ส่วนตัวของแพทย์ผู้รักษาโดยใช้เห็ดหลินจือ รักษาโรค โดยเฉพาะมะเร็ง... ส่วนของ นพ.สุรพล เป็นตำราที่อธิบาย กลไกการต่อสู้มะเร็งด้วยหลินจือ ในภาษาที่ชาวบ้านอ่านได้ (อ่านรายละเอียดในเรื่องเห็ดหลินจือแดง... การแพทย์บูรณาการ เล่ม 2)


กลุ่มสาระสำคัญในหลินจือ คือ ออร์แกนิค เยอรมาเนียม เป็นตัวปรับศักย์ไฟฟ้า ทำให้เซลล์รับออกซิเจน ได้เพิ่มขึ้น เม็ดเลือดแดงรับ ออกซิเจนได้เป็น 1.5 เท่า มีผลต่อการประหยัดออกซิเจน ทำให้เซลล์ปกติมีพลังเชื้อเพลิงมากในขณะที่เซลล์มะเร็งไม่ชอบออกซิเจน... มีการทดสอบพิษเยอรมาเนียมให้หนูได้รับขนาดความเข้มข้น 1,000 เท่า ของที่มีในเห็ดหลินจือ ... ผลนอกจากไม่พบพิษแล้ว ยังช่วยพาโลหะพิษ เช่น แคดเมียมปรอท และสารก่อมะเร็งอื่น ๆ ออกไปพร้อมกัน





วิธีกำจัดเซลล์มะเร็งของเยอรมาเนียม คือ เข้าไปจับคู่กับอิเล็กตรอนจากผนังเซลล์ในระยะแบ่งตัว ทำให้เซลล์แบ่งตัวต่อไม่ได้ โดยในระยะแรกที่ใช้รักษามะเร็ง ต้องใช้ขนาดสูง (shock therapy) คือวันละ 60 เม็ด หรืออย่างน้อย 20 เม็ดเพื่อลดศักย์ไฟฟ้าของก้อนเนื้อร้ายให้ได้ทั้งหมดโดยเร็ว


สำหรับสารเยอรมาเนียม ซึ่งช่วยยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งนั้น ยังพบได้ใน กระเทียม ว่านหางจระเข้ โสม ส่วนในเห็ดหอมชิตาเกะก็น่าจะมีด้วย โดยพบว่าหลินจือมีความเข้มข้นของสารนี้สูงสุด


เอกสารอ้างอิง : นิวัฒน์ ศิตลักษ์ และคณะ. การแพทย์บูรณาการ 4 ฉบับหมอมวลชน. นนทบุรี : หมอมวลชน, 2554.



สนใจติดต่อคุณสุ 092-7780517


เกี่ยวกับโรคมะเร็ง
     
           "โรคมะเร็ง" ยังคงเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอัน 1 ติดต่อกันมานานถึง 7 ปีแล้ว ขณะนี้ในประเทศไทยมีแนวโน้มพบผู้ป่วยโครมะเร็งเพิ่มสูงขึ้นทุกปี ซึ่งมีโรคมะเร็งมากกว่า 100 ชนิิดที่สามารถเกิดขึ้นกับอวัยวะในร่างกาย โดยในปี 2550 มีคนไทยเสียชีวิตจากโรคมะเร็งทุกชนิด 53,434 ราย คิดเป็นร้อยละ 14 ของผู้เสียชีิวิตทุกสาเหตุ มีผู้ป่วยรายใหม่ปีละ 120,000 ราย สำหรับโรคมะเร็งที่พบในผู้ชายมากที่สุด ได้แก่ มะเร็งลำไส้ใหญ่ /ทวารหนัก รองลงมาคือ มะเร็งปอด และมะเร็งตับตามลำดับ ส่วนในผู้หญิงพบมะเร็งเต้านมมากที่สุด  รองลงมาคือมะร็งปากมดลูกและมะเร็งลำไส้ใหญ่
          เป็นช่วงเวลากว่าสองพันปีมาแล้วที่มีการค้นพบว่าใน "เห็ดหลินจือแดง" มีสารสำคัญกว่าร้อยชนิดที่มีสรรพคุณสำคัญทางการแพทย์ หนึ่งในนั้นคือ "มีฤทธิ์ต้านมะเร็ง" โดยการส่งเสริมภูมิคุ้มกัน กระตุ้นให้เม็ดเลือดขาวสร้างสารต้านมะเร็งโดยเฉพาะใน "เห็ดหลินจือแดง" ที่ช่วยเพิ่มความต้านทานโรคมะเร็งได้ดี เพราะมีโพลิแซ็กคาไรน์ สารสำคัญที่ช่วยสร้างระบบคุ้มกันของร่างกาย ช่วยเพิ่มปริมาณเม็ดเลือดขาวเพื่อจัดการกับเชื้อโรคต่าง ๆ ที่สำคัญยังมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยสกัด ยับยั้งการเกิดมะเร็งอีกทาง
           เห็ดหลินจือยังประกอบด้วยสารอาหารที่ครบและสมดุล นั่นคือวิตามิน แร่ธาติและโปรตีนในปริมาณสูงเพียงพอที่จะเสริมภาวะขาดแคลนต่าง ของร่างกาย ทั้งยังมีสารอื่น ๆ อีกมากมายที่ช่วยแก้ไขระบบเผาผลาญอาหารให้คืนสู่สภาวะปกติ     นอกจากนี้ยังพบฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่สำคัญมากใน         เห็ดหลินจือ  ซึ่งข่วยกระตุ้นให้วิตามินดีทำหน้าที่ดูดจับแคลเซียมเข้ากระดูก ช่วยให้กระดูกแข็งแรง ป้องกันภาวะกระดูกพรุนได้ และที่สำคัญเห็ดหลินจือมีสารทำให้กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรง ฉะนั้นในผู้ที่รับประทานเห็ดหลินจือเป็นประจำ โอกาสเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจวายจึงมีน้อยมาก
           เห็ดหลินจือจะมีผลไปช่วยเพิ่มประสิทธิภาพเม็ดเลือดขาว ช่วยให้ร่างกายจัดการกับอาการผิดปกติต่อระบบภูมิคุ้มกัน มีผลดีต่อผู้ที่เป็นภูมิแพ้ เบาหวานที่แผลหายยาก เป็นหวัด เจ็บคอบ่อย ช่วยลดอัตราการเกิดมะเร็ง ทั้งยังช่วยผู้ป่วยเอดส์ ให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างคนปกติ นอกจากนี้ ยังพบด้วยว่า ในเห็ดหลินจือมีสารที่เป็นพิษต่อเซลล์เนื้องอกที่ก่อตัวในร่างกาย ป้องกันไม่ให้มันเติบโต และกลายพันธุ์เป็นเซลล์มะเร็งได้

ข้อมูลอ้างอิงบางส่วนจากงานประชุมวิทยาการกรมพัฒนาการแพทย์ทางเลือก เรื่อง "สารต้านมะเร็ง"
             ............................................................................................................................................
     
         เห็ดหลินจือเป็นที่นิยมในหมู่ผู้สูงอายุมากที่สุด เพราะมันช่วยชะลอความแก่ ต่อต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันความจำเสื่อม เพิ่มออกซิเจนในเลือดกระตุ้นการไหลเวียนเลือด บำรุงหัวใจ ต่อต้านสารพิษ  และต่อต้านมะเร็ง
         มาตกรฆ่ามะเร็งอย่าง เห็ดหลินจือ มีคุณสมบัติฆ่าเชื้อโรค และกำจัดเซลล์มะเร็งได้ พวกมันมีวิธีหาอาหารโดยสร้างเอ็มไซม์ ออกไปย่อยสลายสิ่งมีชีวิตและสิ่งที่ไม่มีชีวิตภายนอก ซึ่งอาจเป็นวิธีการเดียวกับทีใช้ย่อยสลายเชื้อโรค และเซลล์มะเร็งด้วย
         สำหรับผู้มีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร วิงเวียน นอนไม่หลับ มือเท้าเย็น ไอ หอบหือ อักเสบ มีการเจ็บปวดหรืออาการทางจิตประสาท การบริโภคเห็ดหลินจือก็สามารถช่วยได้เช่นกัน นอกจากนั้นยังใช้รักษาร่วมกับผู้ป่วยได้หลายโรค    อาทิ    โรคมะเร็งที่ใช้เคมีบำบัด    และการฉายรังสี เนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรง โรคภูมิแพ้ การติดเชื้อไวรัส โรคเอดส์ โรคทางสมองทั้งหลาย โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง-ต่ำ โรคตับ โรคไต รูมาตอยด์ โรคเอสแอลอี และผู้ป่วยปลูกถ่ายอวัยะ เป็นต้น

      ข้อมูลอ้างอิงบางส่วน   Tags : เห็ดหลินจือ . สมุึนไพร . สุรพล    รักปทุม


   ติดต่อสอบถามคุณสุ  092-7780517

   










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น